Ring tlf. 8618 6846 (kl. 9-15)

สนิ กอ่ นสมรส คอื อะไร?

Læs denne tekst på dansk
Read this text in english

กฎหมายเดนมาร์ก

ข้อความนี้ถือเป็นข้อมูลทั่วไป (ไม่ใช่คำแนะนำ) ของกฎหมายเดนมาร์กว่าด้วยสินก่อนสมรสและสินสมรส ในข้อความไม่ได้มีรายละเอียดทุกอย่างครบถ้วน และอาจมีการตีความบางแง่มุมของกฎหมายเดนมาร์กตกหล่นไป

หากคุณต้องการคำแนะนำทางกฎหมาย โปรดติดต่อ MinAdvokat.dk ผ่านทางอีเมลโดยใช้ภาษาอังกฤษ

ในตัวอย่าง ข้อความกล่าวถึงคำถามที่คู่สมรสมักจะมีเมื่อชายชาวเดนมาร์กวางแผนที่จะแต่งงานกับผู้หญิงจากประเทศไทย

บางส่วนของข้อความอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกันหากผู้หญิงมาจากประเทศอื่น

สินก่อนสมรสคืออะไร?

รูปแบบของสินทรัพย์ในเดนมาร์กคือสินสมรส (โดยสมบูรณ์) (“Formuefællesskab”) เมื่อการแต่งงานสิ้นสุดลง (หย่าร้างหรือเสียชีวิต) แต่ละฝ่ายจะได้รับสินทรัพย์สุทธิร้อยละ 50 ของคู่สมรส มีเฉพาะเงินบำนาญเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้น

คู่สมรสอาจทำข้อตกลงสัญญาข้อตกลงก่อนสมรส (“Ægtepagt”) ทั้งก่อนและระหว่างการแต่งงาน เพื่อระบุว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สินในรูปแบบอื่นระหว่างคู่สมรส

สินก่อนสมรสคือข้อตกลงเกี่ยวกับสิ่งที่จะไม่ถูกแบ่งในกรณีที่เกิดการหย่าร้างขึ้น

จะต้องมีการจัดทำข้อตกลงเป็นสัญญาก่อนสมรส และจะต้องมีการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการเพื่อให้ถูกต้อง

สินส่วนตัวคือข้อตกลงเกี่ยวกับสิ่งที่จะไม่ถูกแบ่งในกรณีที่เกิดการหย่าร้างขึ้นคุณสามารถเลือกได้ระหว่างสองประเภทเกี่ยวกับสินก่อนสมรส: สินก่อนสมรสอย่างสมบูรณ์ในกรณีที่หย่าร้างหรือเสียชีวิต (“Fuldstændigt særeje”) หรือสินก่อนสมรสในกรณีที่หย่าร้าง (“Kombinationssæreje”) หากคุณเลือกแบบหลัง สินก่อนสมรสจะไม่ถูกนำมาแบ่งปันในกรณีที่มีการแยกกันอยู่ตามกฎหมายหรือหย่าร้างเกิดขึ้น

ในการหย่าร้างและในระหว่างที่มีการกินอยู่ร่วมกันแบบสามีภรรยา ผลลัพธ์เกี่ยวกับสินก่อนสมรสคล้ายคลึงกันทั้งสองประเภท คือจะไม่มีการแบ่งปันของสินก่อนสมรส ในกรณีที่มีการแยกหรือมีการหย่าร้างขึ้น

ความแตกต่างที่ประจักษ์ก็คือการตาย ถ้าผู้ตายมีลูก

เรามีสิทธิ์ที่จะได้รับมรดกซึ่งกันหรือกันไหม หากผู้ใดผู้หนึ่งเสียชีวิตก่อน ถ้าเราได้จัดทำสินก่อนสมรส?

คู่สมรสยังคงมีสิทธิ์ที่จะได้รับมรดกซึ่งกันและกัน ถึงแม้ว่าเราได้ทำสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสแล้วว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์สินก็ตาม หากทั้งคู่ไม่มีลูก คุณจะได้รับมรดกจากกันและกันแบบร้อยละ 100 ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายที่เสียชีวิตมีที่อยู่ในเดนมาร์ก ณ เวลาที่เสียชีวิต ประเภทของสินก่อนสมรสเป็นลักษณะชี้ขาด ว่าผลกระทบเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของมรดกมีอะไรบ้างหากผู้เสียชีวิตมีลูก

เราต้องการให้แต่ละฝ่ายได้รับมรดกมากที่สุดจากกันและกัน
หากคุณมีความปรารถนาที่จะรู้ว่า เมื่อเราเสียชีวิต แต่ต้องการที่จะได้รับมรดก “มากที่สุด” หลังจากคนใดคนหนึ่งเสียชีวิตก่อน ก็จะต้องทำเป็น “การมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันของทรัพย์สินก่อนสมรส” ซึ่งเป็นประเภทของสินก่อนสมรสที่ถูกต้อง และจะต้องมีการสร้างพินัยกรรมเพิ่มเติมหากคุณต้องการให้แต่ละฝ่ายได้รับมรดกมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม “การมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันของทรัพย์สินก่อนสมรส” คือพื้นฐานในการทำตามความปรารถนาของคุณ

เราต้องการให้แต่ละฝ่ายไม่ได้รับมรดกจากกันและกัน

ถ้าตรงกันข้าม ซึ่งมีความปรารถนาว่าเราจะไม่ได้รับมรดกอะไรจากกันและกัน (มรดกนี้จะต้องตกไปเป็นของเฉพาะลูกของตัวเอง) ก็คือสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสเกี่ยวกับสินก่อนสมรสอย่างสมบูรณ์ (“Fuldstændigt særeje”) ซึ่งเป็นพื้นฐานของความปรารถนาที่จะประสบความสำเร็จ ถึงแม้จะมีการทำสินก่อนสมรสอย่างสมบูรณ์ พวกคุณก็มีสิทธิ์ได้รับมรดกจากกันและกัน ถ้ามรดกทั้งหมดจะตกทอดถึงลูกๆ สัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสจะต้องสร้างเสริมพินัยกรรมด้วย ว่าคู่สมรสยอมสละมรดกสืบทอดซึ่งกันและกัน

เราจะทำสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสในประเทศเดนมาร์ก หรือจะทำในประเทศไทย?

โดยปกติแล้วคุณต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เรื่องทรัพย์สินในประเทศที่คุณมีที่อยู่อาศัยร่วมกันเป็นแห่งแรก หากบ้านที่อยู่ร่วมกันอยู่ในประเทศเดนมาร์ก คุณต้องปฏิบัติตามกฎหมายเดนมาร์กว่าด้วยสินสมรส

คุณสามารถเลือกได้ว่าจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เรื่องทรัพย์สินในประเทศใดสำหรับการสมรสของคุณ

คุณสามารถเลือกกฎได้จากสองประเทศที่คุณอาศัยหรือมีสัญชาติ หากใครคนหนึ่งอาศัยในประเทศเดนมาร์ก หรือมีสัญชาติเดนมารก์และอาศัยอยู่ต่างประเทศ คุณสามารถทำสัญญาก่อนสมรส (“Ægtepagt”) ได้ในประเทศเดนมาร์ก

จะเกิดอะไรขึ้นหากเราตัดสินใจหย่าร้างกันในภายหลังที่ประเทศอื่นที่ไม่ใช่เดนมาร์ก?

กฎที่ระบุข้างต้นคือกฎที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายครอบครัวระหว่างประเทศของเดนมาร์ก ประเทศอื่น ๆ มีกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับทางเลือกกฎหมายที่แตกต่างกันออกไป

หากคุณยื่นฟ้องหย่าในประเทศอื่นที่ไม่ใช่เดนมาร์ก กฎของประเทศนั้นเกี่ยวกับทางเลือกกฎหมายคือสิ่งที่กำหนดว่าสัญญาสมรสเดนมาร์กของคุณยังมีผลในประเทศนั้นหรือไม่

ตัวอย่าง:

หากคุณฟ้องหย่าในประเทศไทยและมีการแบ่งมกรกในประเทศไทย กฎเกณฑ์ว่าด้วยทางเลือกกฎหมายระหว่างประเทศในประเทศไทยคือตัวตัดสินว่าสัญญาสมรสของคุณถูกต้องหรือไม่

เราควรจะทำสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสก่อนที่จะแต่งงาน หรือจะต้องรอจนกว่าหลังจากที่เราได้แต่งงานแล้ว?

มันไม่ได้เป็นข้อกำหนดทางกฎหมายว่า สัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสนั้นจะถูกสร้างขึ้นก่อนที่จะมีพิธีแต่งงานกัน แต่หลายคนที่เลือกจดทะเบียนสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก่อนที่จะเข้าสู่การแต่งงานกัน นี้เป็นเพราะพวกเขาได้รับการมีสิทธิ์เป็นเจ้าของในทรัพย์สินร่วมกัน “โดยอัตโนมัติ” เมื่อคุณแต่งงานถ้าไม่ได้ทำข้อสัญญา (ที่ชอบด้วยกฎหมาย) ข้อตกลงเกี่ยวกับสินก่อนสมรสก่อนหน้านี้

เราสามารถทำข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเลี้ยงดูที่สามีให้แก่ภรรยาเมื่อหย่ากัน ฯลฯ ในสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสไหม?

ในสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสนั้นเราสามารถตัดสินใจเลือกประเภทของสินก่อนสมรส และขอบเขตของสินก่อนสมรส ว่าควรจะมีแบบไหน

มันเป็นไปไม่ได้ที่จะนำกฎข้อบังคับเป็นจำนวนเงินแทรกเข้าไปในประโยค ยกตัวอย่างเช่นค่าเลี้ยงดูที่สามีให้แก่ภรรยาเมื่อหย่ากัน ในสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรส

ในสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสนั้นจะต้องแปลเป็นภาษาไทยไหม?

มันเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจถ้อยคำและเนื้อหาของสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรส ถ้าภรรยาอ่านและทำความเข้าใจในภาษาเดนมาร์กไม่ได้ มันเป็นสิ่งจำเป็นว่าสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสจะต้องแปลเป็นภาษาที่ภรรยาเข้าใจ

ราคาค่าการแปลไม่รวมอยู่ในราคาของ 3.750 โครนเน่อร์ โดยปกติแล้วมีราคาอยู่ที่ 2.000 โครนเน่อร์สำหรับการแปลสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสเป็นภาษาไทย ติดต่อเราเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาในปัจจุบัน

คุณยังสามารถหาคนแปลด้วยตัวของคุณเองก็ได้ หากคุณต้องการแปลเอกสารนี้ และแน่อนว่าเอกสารนี้จะต้องแปลอย่างถูกต้องและควรจะเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อที่จะได้ใช้เป็นหลักฐานได้

ข้อตกลงระหว่างคู่สมรสในเรื่องทรัพย์สมบัติในประเทศไทยคืออะไร?

โดยทั่วไประบบจุดเริ่มต้น ข้อตกลงระหว่างคู่สมรสในเรื่องทรัพย์สมบัติในประเทศเดนมาร์กเกี่ยวกับการมีสิทธิ์เป็นเจ้าของในทรัพย์สินร่วมกัน มันก็คล้ายคลึงกันกับข้อตกลงระหว่างคู่สมรสในเรื่องทรัพย์สมบัติของประเทศไทย กฎเกณฑ์ของเดนมาร์กเกี่ยวกับการมีสิทธิ์เป็นเจ้าของในทรัพย์สินร่วมกันหมายความว่า คุณต้องแบ่งสินทรัพย์ที่มีคุณค่าหรือประโยชน์ทั้งหมดในกรณีที่มีการหย่าร้างกัน ยกเว้นเงินบำนาญซึ่งในเดนมาร์ก สินทรัพย์เหล่านี้รวมถึงสิ่งที่คุณมีเป็นเจ้าของก่อนที่คุณจะได้แต่งงานด้วย

ตามกฎหมายของประเทศไทยจะมีการแตกต่างระหว่าง “ทรัพย์สินร่วมกันที่มีหลังแต่งงานแล้ว” และ “ทรัพย์สินส่วนบุคคล” ทรัพย์สินร่วมกันที่มีหลังแต่งงานแล้วจะถูกแบ่งออก และทรัพย์สินส่วนบุคคลหรือข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวสามารถเก็บไว้นอกส่วนคือไม่ต้องแบ่งกัน ทรัพย์สินทั้งหมดที่ได้มาระหว่างสมรสควร (แต่ว่า) ที่จะต้องแบ่งปันกัน เนื่องจากทรัพย์สินนี้ได้รับการพิจารณาเป็นทรัพย์สินร่วมกันที่มีมาหลังแต่งงานแล้ว

คู่สมรสในอนาคตของฉันที่จะมาในช่วงเร็ววันนี้ไม่มีหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เรื่องนี้เป็นปัญหาหรือไม่?

หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน (หมายเลข CPR) จะต้องนำไปใช้เวลาจะจดทะเบียนสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสก็จะเป็นโมฆะ

หากภรรยา (ยัง) ไม่มีหมายเลข CPR อาจมีการมอบอำนาจให้ทนายความเซ็นชื่อเข้าสู่ระบบในนามของภรรยาของเขา

ถ้าภรรยาไม่มีหมายเลข CPR ทนายความจะต้องได้รับสำเนาหนังสือเดินทางของเธอ ซึ่งจะต้องใช้ในการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

คู่สมรสของฉันที่จะมาในช่วงเร็ววันนี้ไม่มีหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน แต่ไม่มี MitID เรื่องนี้เป็นปัญหาหรือไม่?

ถ้าคู่สมรสไม่มี MitID เราสามารถทำหนังสือรับมอบอำนาจ (“Tinglysningsfuldmagt“) ให้ทนายความเซ็นชื่อเข้าสู่ระบบในนามของภรรยาของเขาได้

คู่สมรสของฉันที่จะมาในช่วงเร็ววันนี้ไม่มีใบอนุญาตให้อยู่อาศัยได้ในประเทศ เรื่องนี้เป็นปัญหาหรือไม่?

สิ่งนี้ไม่ได้เป็นข้อกำหนดตามกฎหมายสำหรับสัญญาข้อตกลงกันก่อนสมรสว่าภรรยาต้องมีใบอนุญาตให้อยู่อาศัยได้ในประเทศเดนมาร์ก แต่ใบอนุญาตให้อยู่อาศัยได้ในประเทศนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการขอหมายเลข CPR

Opret ægtepagt for kr. 3.750,00.

14 dages returret

Ulrik Grønborg

Ulrik Grønborg

Advokat med speciale i familie- og arveret.

Tlf. 8618 6846
e-mail: ug@minadvokat.dk

Om advokaten